วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559


✔ ชาย 3 คนกับแนวทางของท่านนบี (ศ็อลฯ)
ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์และอิหม่ามมุสลิม ได้รายงานจากท่านอะนัส อิบนุ มาลิก (ร.ด.) ว่า :
มีชาย 3 คนได้มายังนิวาสสถานของเหล่าภริยาของท่านนบี (ศ็อลฯ) เพื่อมาสอบถามถึงการประกอบศาสนกิจของท่าน ครั้นเมื่อพวกเขาได้รับการบอกเล่า ก็ประหนึ่งดังพวกเขาพบว่าการปฏิบัติศาสนกิจของท่านนบี (ศ็อลฯ) เป็นเรื่องที่เล็กน้อยสำหรับพวกตน พวกเขากล่าวว่า...พวกเราจะเทียบกับท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้อย่างไร ? ในเมื่อท่านได้รับการอภัยโทษทั้งบาปที่มีมาก่อนและที่มีมาภายหลัง (ปราศจากมลทิน) คนหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า...ส่วนตัวฉันนี้ ฉันจะละหมาดในยามค่ำคืนโดยตลอด / อีกคนหนึ่งก็กล่าวว่า...ฉันจะถือศีลอดโดยตลอดและฉันจะไม่ละศีลอดเลย / และอีกคนก็กล่าวว่า...ฉันจะไม่ข้องแวะกับสตรีเพศ และฉันจะไม่แต่งงานตลอดไป. ครั้นต่อมาท่านนบี (ศ็อลฯ) ก็ได้มายังบุคคลทั้งสามพร้อมกล่าวขึ้นว่า...พวกท่านคือผู้ที่กล่าวว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้ใช่มัย ? พึงสังวร ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริง ฉันนี้คือผู้ยำเกรงและมีความเกรงกลัวต่อพระองค์อัลลอฮฺมากที่สุดของหมู่พวกท่าน กระนั้นฉันก็ถือศีลอดและละศีลอด. ฉันละหมาดและฉันก็หลับนอน. และฉันก็สมรสกับสตรีเพศ ดังนั้นผู้ใดไม่ปรารถนาแนวทางของฉัน ผู้นั้นย่อมมิใช่ส่วนหนึ่งจากฉัน.
📚 (คัดจาก ตัรฺบียะตุ้ลเอาลาต 1/34-35)
⏩ ข้อคิด : ความเคร่งครัดด้วยการประพฤติความดีเป็นนิจศีล แม้ไม่มากมายด้วยปริมาณ ย่อมดีกว่าการหักโหมกระทำความดีที่มากด้วยปริมาณแต่กระทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว.🔒🔒

มหัศจรรย์ตัวเลขในอัลกุรอาน
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานและได้ค้นพบข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ อันน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ใจอย่างมากมาย และจากการค้นพบอีกอย่างหนึ่งจากโองการต่างๆ ในคัมภีร์อัล-กุรอานนั้น พบว่า มีการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นคู่กัน หรือตรงข้ามกัน ในจำนวนที่เท่ากัน เช่น กล่าวถึงคำว่า ผู้ชาย เท่ากับการกล่าวถึงคำว่า ผู้หญิง
จากการวิเคราะห์โองการต่างๆ ของอัล-กุรอาน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าลักษณะเช่นนี้มีอยู่ตลอดทั้งเล่มของอัล-กุรอาน ต่อไปนี้คือจำนวนครั้งอันน่าทึ่งในการกล่าวถึงคำหนึ่งๆ ที่คู่หรือตรงข้ามกันในคัมภีร์อัล-กุรอาน
ดุนยา (โลกแห่งการมีชีวิตนี้) 115 ครั้ง ......... อาคีเราะฮ์ (ปรโลก) 115
ครั้งมะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) 88 ครั้ง ..... ชัยฏอน (มารร้าย) 88 ครั้ง
ชีวิต 145 ครั้ง ......... ความตาย 145 ครั้ง
ผลประโยชน์ 50 ครั้ง ......... ความเสียหาย 50 ครั้ง
ประชาชาติ 50 ครั้ง ......... ศาสนทูต 50 ครั้ง
อิบลีส (หัวหน้ามารร้าย) 11 ครั้ง .........ขอความคุ้มครองให้พ้นจากอิบลีส 11 ครั้ง
มุซีบะฮ์(ภัยพิบัติ) 75 ครั้ง ......... ขอบคุณ 75 ครั้ง
การให้ทาน 73 ครั้ง ......... ความอิ่มเอิบใจ 73 ครั้ง
ผู้หลงผิด 17 ครั้ง ......... คนตาย 17 ครั้ง
มุสลิมีน 41 ครั้ง ......... การญิฮาด(ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) 41 ครั้ง
ทอง 8 ครั้ง ......... ชีวิตที่ง่ายดาย 8 ครั้ง
ซะกาต (ทานบังคับจำเป็น-ที่มุสลิมจ่ายให้คนยากจน) 32 ครั้ง ......... บะรอกัต (สิริมงคล) 32 ครั้ง
จิตใจ 49 ครั้ง ......... รัศมี 49 ครั้ง
ลิ้น 25 ครั้ง ......... การเทศนาธรรม 25 ครั้ง
ความปรารถนา 8 ครั้ง ......... ความกลัว 8 ครั้ง
พูดต่อสาธารณะ 18 ครั้ง ......... การเผยแพร่ 18 ครั้ง
ความยากลำบาก 114 ครั้ง ......... ความอดทน 114 ครั้ง
มุฮัมมัด 4 ครั้ง ......... ชะรีอะฮ์ (คำสอนของมุฮัมมัด) 4 ครั้ง
ผู้ชาย 24 ครั้ง ......... ผู้หญิง 24 ครั้ง
เพียงความมหัศจรรย์ทางตัวเลขด้านไวยากรณ์ก็น่าทึ่งเพียงพออยู่แล้ว ลองมาดูความมหัศจรรย์ของตัวเลขในอัล-กุรอานทางด้านวิทยาศาสตร์ดูบ้าง
เดือน 12 ครั้ง,
วัน 365 ครั้ง,
ซอลาต (การนมาซ) 5 ครั้ง
ทะเล 32, แผ่นดิน 13ทะเล + แผ่นดิน = 32+13= 45ทะเล = 32 ÷ 45x100=71.11111111%แผ่นดิน = 13 ÷ 45x100 = 28.88888889%ทะเล + แผ่นดิน =100.00%
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพิ่งจะค้นพบความจริงแล้วว่า พื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ 71.111% ในขณะที่ปกคลุมด้วยแผ่นดิน 28.889%
กุรอานถูกจารึกและเรียบเรียงในช่วงเวลาต่าง ๆ กันเป็นระยะเวลาเกือบ 23 ปี แต่กลับไม่มีการขัดแย้งกันในฉันทลักษณ์ หรือความหมาย ทั้ง ๆ ที่โองการในกุรอานกว่า 6,000 โองการนั้น ถุกสลับตำแหน่งและจัดวางในรูปแบบที่ไม่ได้เรียงตามลำดับการลงโองการ
เป็นการยากประการหนึ่งที่คนไม่รู้หนังสือแต่งขึ้นมา
กุรอานถูกบันทึกเป็นระบบรหัสยะ คือ ทุกตัวอักษรของข้อความสามารถถอดรหัสเป็นตัวเลขที่มีค่าทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งเมื่อถอดออกมาแล้วจะสามารถนำมาเรียบเรียงและหาค่าความมหัศจรรย์ที่กุรอานซ่อนไว้ได้ นี่แหละที่เป็นข้อยืนยันว่า กุรอานไม่ได้คัดลอกหรือดัดแปลงมาจากคัมภีร์ใด เพราะระบบอักษรและค่าของตัวเลขในอักษรอาราบิกนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับภาษาอาราเมอิค ฮิบรู หรือภาษากรีก
ข้อเท็จจริงนี้เป็นเรื่องบังเอิญกระนั้นหรือ?
ใครเป็นคนบอกเรื่องเหล่านี้ให้แก่ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ?
คำตอบจะเกิดขึ้นในใจทันที อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้นที่สอนท่าน
ความว่า แท้จริง เราได้ส่งข้อตักเตือน (คัมภีร์กุรอานลงมา) และเราจะเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน
(กุรอาน 15.:9)
ความว่า หรือพวกเขากล่าว่า “เขา (มุฮัมมัด) เป็นผู้ปั้นแต่งขึ้น” จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “พวกท่านจงนำกลับมาสักบทหนึ่งเยี่ยงนั้น และจงเรียกร้องผู้ที่พวกท่านสามารถนำมาได้ นอกจากอัลลอฮ์ หากพวกท่านเป็นผู้สัจจริง” (กุรอาน 19:38)
ความว่า จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม
กุรอาน (17:88)



                                             อาซีมัต ทำได้หรือไม่ โทษขนาดไหน ด้วยความหวังดี


อิสลามว่าอย่างไรเกี่ยวกับประเพณีของต่างศาสนาอื่น?
بسم الله الرحمن الرحيم
มุสลิม เล่นน้ำสงกรานต์ได้หรือไม่ ?
อ.อิสมาอีล กอเซ็ม
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ แต่เพียงพระองค์เดียว
อิสลาม คือ ศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า คือ อัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา และ เป็นศาสนาที่ปลูกฝังความเชื่อ แก่บรรดามุสลิม ให้ยอมรับการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว เมื่อมุสลิมมีหลักความเชื่อนั้น เขาก็พร้อมที่จะน้อมรับบทบัญญัติต่างๆ ที่มาจากอัลลอฮฺ
หลักการของอิสลามนั้น มีทั้งที่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อ การคบค้าสมาคมกับผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างศาสนา และต่างความเชื่อ แต่ขณะเดียวกันอิสลามให้ความสำคัญ กับสิ่งที่จะมาทำลาย หรือสิ่งที่ค้านกับหลักความเชื่อของอิสลาม เมื่อใดก็ตามที่มุสลิมกระทำสิ่งที่ค้านกับความเชื่อและหลักการของอิสลาม จะไม่สามารถกระทำได้ เช่นการไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาอื่น ซึ่งพิธีกรรมของศาสนานั้น ค้านกับคำสอนของอิสลาม หรือประเพณี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา
ดังนั้น ความแตกต่างของศาสนาอิสลามที่มีจุดเด่นเฉพาะ ไม่ใช่อุปสรรคในการดำเนินชีวิตร่วมกันกับผู้คนต่างวัฒนธรรม หรือต่างความเชื่อ หลายคนที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของอิสลามที่แท้จริง หรือผู้ที่มีอคติต่ออิสลามนั้น มักจะเข้าใจอิสลามในภาพลบ และมองว่าอิสลามคือตัวถ่วงความเจริญ หรือเป็นตัวสร้างปัญหา
ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากจะนำมาเสนอกับพี่น้องลูกหลานมุสลิมถึงการเล่นสงกรานต์ สำหรับมุสลิมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึง คือ มุสลิมจะไปร่วมสนุกสนานกับการเล่นสงกรานต์ได้หรือไม่ ถ้าเรามองโดยผิวเผินแล้ว การเล่นน้ำสงกรานต์ไม่น่าจะเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะแค่เอาน้ำมารดหัวสาดใส่กัน ในช่วงหน้าร้อนมันช่วยดับร้อนได้อีกต่างหาก แต่เมื่อไปศึกษาความเป็นมาของพิธีสาดน้ำสงกรานต์ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ หลักความเชื่อของศาสนาอื่น ตามหลักความเชื่อของศาสนาอื่นนั้น อิสลามไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ หมายถึงมุสลิมไม่สามารถที่จะไปปฏิบัติ ในสิ่งที่เป็นหลักความเชื่อ อื่นจากหลักความเชื่อของอิสลาม
เมื่อเราไปศึกษาความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ เราจะพบว่า ความเป็นมานั้น เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา (เข้าไปอ่านประวัติความเป็นมา ของประเพณสงกรานต์ ตามลิงค์ต่อไปนี้http://www.mahamodo.com/knowledge/water_festival.aspx) ซึ่งเป็นความเชื่อที่มาค้านกับความเชื่อของอัลอิสลาม
เมื่อมุสลิมได้รับทราบความเป็นมา ของประเพณีสงกรานต์ มีที่มาอย่างไร ก็สรุปได้ว่าที่มาของสงกรานต์ เกิดจากหลักความเชื่อของศาสนาอื่น จึงไม่อนุญาตให้มุสลิม เข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นน้ำสงกรานต์ เนื่องจากการเป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติ ตามหลักการที่เคร่งครัด และต้องละทิ้งสิ่งที่เข้ามาเจือปนในศาสนา มุสลิมต้องมีจุดยืนในศาสนาของตัวเองอย่างชัดเจน การผสมผสานระหว่างความเชื่อของอิสลาม และความเชื่ออื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจมารวมไว้ด้วยกันได้
อัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา ตรัสว่า
(لكم دينكم ولي دين )
“สำหรับพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน”
นี่คือพระบัญชาของอัลลอฮฺ ที่ได้กำชับให้มุสลิม แสดงถึงจุดยืนที่ชัดเจน สำหรับการยึดถือปฏิบัติศาสนา และให้ปลีกตัวจากการปฏิบัติ ตามหลักความเชื่อของศาสนาอื่น หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในวันสำคัญของศาสนาต่าง ๆ หรือประเพณีทางศาสนาอื่น ไม่ว่าจะเป็นการลอยกระทง สงกรานต์ หรือในทำนองดังกล่าว
قال النبي صلى الله عليه وسلم(( من تشبه بقوم فهو منهم ))
رواه أبوداود
ท่านนบีศอลลัลลอฮู อะลัยอิวะซัลลัมได้กล่าวว่า “ใครที่เลียนแบบกลุ่มชนหนึ่ง กลุ่มชนใด ดังนั้น เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนนั้น” (บันทึกโดย อาบูดาวุด)
เพราะถ้ามุสลิมได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในพิธีกรรมของพวกเขา มันเป็นการบ่งบอกถึงการนิยมชมชอบ ต่อพวกเขา มุสลิมสามารถดำเนินชีวิต ร่วมกับบุคคลต่างศาสนาได้โดยปกติ ในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และพิธีกรรมทางศาสนา
ดังนั้น หลักการอิสลามไม่ใช่หลักการ ที่จะมาสร้างความแตกแยก ในหมู่ผู้คน อิสลามสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ โดยสันติสุข ความแตกต่างในศาสนา ไม่ได้หมายความเราไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม อิสลามมีหลักการโดยเฉพาะ แต่ขณะเดียวกันอิสลามเคารพในสิทธิของบุคคลอื่น อิสลามไม่มีคำสอน ให้ไปทำลาย หรือ ด่าทอศาสนา หรือพระเจ้าของศาสนาอื่น เพราะอิสลาม เป็นศาสนาที่ปลูกฝังหลักความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า และต้องปฏิบัติตามหลักการของศาสนา อย่างเคร่งครัด เพื่อเราจะรอดพ้นจากการลงโทษจากอัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา
ดังนั้น สงกรานต์ในปีนี้ หวังอย่างยิ่งว่า ลูกหลานมุสลิม คงเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ไปมีส่วนร่วมในการเล่นน้ำสงกรานต์ ตามความเชื่อของศาสนาอื่นๆ



คำสั่งเสีย ของ เชค อัล-อัลลามะห์ อิบนุ อุซัยมีน รอฮีมาฮุลลอฮฺตะอาลา
สำหรับผู้ที่เป็นนักศึกษาทั้งหลาย...?
จำเป็นสำหรับท่านเป็นอย่างยิ่ง โอ้นักศึกษา ที่ท่านจะต้องละทิ้งการโต้เถียงด้วยสิ่งที่เป็นเท็จ และการถกเถียงที่ต้องการจะเอาชนะ มิได้แสวงหาความจริง เพราะว่า การโต้เถียง การโอ้อวดนั้น คือประตู ที่จะปิดหนทาง สู่ความถูกต้อง
เพราะว่า สองสิ่งนี้มันจะทำให้คนๆนั้นพูดเข้าข้างตัวเอง แม้ว่าความจริงได้ปรากฏแก่เขาแล้วก็ตาม ท่านจะพบว่า เขาก็จะไม่ยอมรับหรือไม่ก็หาช่องตีความอย่างน่าเกลียดเพื่อเอาชนะเท่านั้น
สรุป..หากท่านทั้งหลายโต้เถียงด้วยความจิงไม่ได้
ก็อย่าได้สนับสนุนความเท็จเลย เงียบสะดีกว่า

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์ใหม่ชายแดนใต้

สถานการณ์ใหม่ชายแดนใต้ : ความเสี่ยงในการถูกรุกกลับทางการทหารและตรึงกำลังในทางการเมือง


นับตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2552 ของปีนี้ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 8,810 เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้งบางส่วนของจังหวัดสงขลา ความรุนแรงลดลงในกลางปี 2550 เมื่อกองทัพเริ่มมาตรการระดมกำลังขนานใหญ่ส่งกำลังเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 60,000 นาย มีการปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณไปมากกว่า 109,000 ล้านบาทเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อดูจากสถิติเหตุการณ์ความรุนแรง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความพยายามในการรุกไล่ทางการเมืองและการทหารต่อขบวนการก่อความไม่สงบค่อนข้างประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากประมาณ 200 ครั้งต่อเดือนไปเป็น 100 กว่าครั้งหลังจากนั้น จากนั้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงน้อยกว่า 100 ครั้งต่อเดือน นี่เป็นแนวโน้มคงที่ความต่อเนื่องจนกระทั่งมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจนน่าสังเกตในตอนต้นปี 2552 นี้
ในช่วงต้นปี 2552 จำนวนของเหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มไต่ระดับสูงขึ้นอีก จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบไต่ระดับสูงขึ้นมากกว่า 100 ครั้งต่อเดือนอีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคมของปี 2550 ชี้ให้เห็นภาพของความคงที่ต่อเนื่องและการลุกลามขยายตัวอย่างไม่จบสิ้นของเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบไปแล้วถึง 3,418 ราย และผู้บาดเจ็บ 5,624 ราย ในกลุ่มผู้ถูกสังหารนี้ ร้อยละ 54.69 เป็นคนมุสลิมและร้อยละ 41.87 เป็นคนพุทธ
เป้าหมายสำคัญของเหยื่อความรุนแรงคือพลเรือน ดังจะเห็นได้จากสถิติผู้สูญเสียทั้งหมด แยกเป็นพลเรือนหรือราษฎรโดยทั่วไปเป็นเป้าหมายหลักของการสังหาร (ประมาณ 1,564 คน) ตามมาด้วยฝ่ายทหาร (ประมาณ 215 คน) บุคลากรฝ่ายตำรวจ (ประมาณ 200คน) กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ประมาณ 189 คน) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) (ประมาณ 170 คน) ยุทธวิธีสำคัญในการก่อเหตุก็ยังคงเป็นการยิงสังหารบนถนนสายย่อยหรือถนนหลวง ตามมาด้วยการใช้ระเบิดและการวางเพลิง แบบแผนลักษณะการโจมตีเพื่อก่อเหตุเป็นเช่นนี้ตลอดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

กล่าวโดยสรุป ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงปีปัจจุบันฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังคงแสดงให้เห็นว่ายังไม่ลดละความพยายามที่จะก่อสถานการณ์ความรุนแรงให้มีผลกระทบในทางการเมืองและส่งสัญลักษณ์การต่อสู้ให้เห็นในพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ความวุ่นวายสับสนในทางการเมืองที่เกิดในกรุงเทพมหานครและที่อื่นๆ ของประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้ได้ตกในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ตราบใดที่รัฐบาลยังคงวุ่นวายอยู่กับการอยู่รอดทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐก็จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแก้ปัญหาทางการเมืองและในทางยุทธศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อรุกทั้งทางการทหารและทางการเมือง
สิ่งที่ควรระวังก็คือการรุกทางการทหารที่เคยกระทำได้ผลสำเร็จในระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นการถูกรุกบ้าง ในขณะที่การเมืองยังไม่สามารถชนะได้ในระยะยาว การปรับตัวทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะในทางการเมืองและการทหารอาจจะต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากแนวโน้มดังกล่าวยังเป็นอยู่เช่นนี้